เจดีย์หินทราย มหาบุโรพุธโธแห่งเมืองไทย วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) จังหวัดร้อยเอ็ด



ประวัติความเป็นมาของวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง)

ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่ศรี มหาวิโร ท่านได้จาริกวิเวกออกจากวัดพูลศรีสารคาม (วัดประชาบำรุง) มายังวัดป่ากุง ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดที่ร้างเก่าแก่มาก มีพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ และมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่อาถรรพ์ ไม่มีใครกล้าเข้ามาบุกรุก ชาวบ้านต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าผีดุมาก เจ้าที่แรง


ในพื้นที่ทั้งหมด 150 ไร่นี้ เป็นที่อาถรรพ์ใครคิดจะไปทำอะไรในป่านั้นจะต้องมีอันเป็นไป ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้ บางรายถึงตาย แค่เอากิ่งไม้แห้งหรือเอาไม้ไปปลูกบ้านก็ไม่ได้ หรือจะไปตัดต้นไม้ก็ไม่ได้ เพราะผีดุมาก เจ้าที่แรง เช้าบ้านเลยต้องทิ้งให้เป็นพื้นที่ป่ารกร้างอย่างนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

เมื่อหลวงปู่ศรีได้มาถึงยังวัดป่ากุง ชาวบ้านที่เคารพนับถือหลวงปู่ก็ได้ตกลงกันว่าจะสร้างเป็นวัดเพื่อนิมนต์หลวงปู่ให้อยู่จำพรรษาที่ป่านี้ หลวงปู่ก็ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านและได้อยู่จำพรรษา และได้ละทิ้งไม่ได้ธุดงค์ไปกราบพระธาตุพนมตามที่ได้ตั้งใจไว้ก่อนหน้านั้น

ก่อนการสร้างวัดป่ากุงนี้ หลวงปู่ศรีได้กราบนิมนต์พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมปนโนและหลวงปู่บัว สิริปุญโณ มาดูบริเวณพื้นที่สร้างวัด หลวงปู่บัวก็ได้เห็นด้วยที่จะมาการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่รกร้างแห่งนี้

ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2508 หลวงปู่ศรีและชาวบ้านที่มีความศรัทธาก็ได้ร่วมกันก่อสร้างวัดป่ากุง จนในบัจจุบันมีความเจริญรุ่งเรือง และได้ขยายพื้นที่ออกไปเป็น 338 ไร่

ที่มา : นายเกรียงไกร กิริวรรณ นายอำเภอศรีสมเด็จ กรกฏาคม พ.ศ. 2558

เจดีย์หินทรายวัดป่ากุง

บันไดทางขึ้นจะมีทั้งหมด 4 ทิศ

ในปี พ.ศ. 2531 หลวงปู่ศรี มหาวิโร ได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชม พระเจดีย์บรมพุทโธ ที่ประเทศอินโดนีเชีย ซึ่งเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างจากลาวาภูเขาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนและมีความศักดิสิทธิ์มาก หลวงปู่ศรีจึงคิดว่าถ้ามีโอกาสจะสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้บ้าง เพราะจะแสดงถึงความถาวรมั่นคงของพระพุทธศาสนา

คณะสงฆ์และบรรดาศิษยานุศิษย์ ที่นำโดยพระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญโญ ก็ได้เข้าร่วมการก่อสร้างพระเจดีย์หินเพื่อน้อมบูชาหลวงปู่ศรี มหาวิโร เนื่องในโอกาสฉลองอายุวัฒนะ 60 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคา พ.ศ. 2549

การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา และได้ตั้งงบประมาณในการก่อสร้างไว้ที่ 100 ล้านบาท แต่การก่อสร้างก็ได้แล้วเสร็จด้วยการใช้งบประมาณเพียง 40 ล้านบาทเท่านั้น ในส่วนยอดบนสุดของเจดีย์หุ้มด้วยทองคำแท้หนัก 101 บาท

ประตูแกะสลักเมื่อเดินขึ้นมาชั้นแรก

บริเวณทางเดินโดยรอบองค์เจดีย์

บริเวณทางเดินโดยรอบองค์เจดีย์

ชั้นที่สองภาพแกะสลักที่สวยงาม

มุมด้านข้างเมื่อมองจากชั้นสอง

ยอดสูงสุดขององค์เจดีย์เป็นทองคำแท้หนัก 101 บาท

ภาพมองลงไปด้านล่างเมื่อมองจากชั้นบนสุด

ตัวองค์เจดีย์ถูกสร้างจากหินทรายธรรมชาติ และได้ทำการแกะสลักเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ดังนี้

ภายใน
  • ชั้นที่ 1 เป็นที่ประชุมสงฆ์และประกอบพิธีสังฆกรรม
  • ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์และประวิติหลวงปู่ศรี มหาวิโร
  • ชั้นที่ 3 เจดีย์องค์ประธานและเจดีย์องค์เล็ก 4 องค์
ภายนอก
  • ชั้นที่ 1 ภาพแกะสลักเรื่องพระเวสสันดร
  • ชั้นที่ 2 ภาพแกะสลักเรื่องพุทธประวัติ
  • ชั้นที่ 3 ภาพแกะสลักเรื่องพระพุทธชัยมงคลคาถา 
ภายนอกองค์เจดีย์ มีพระพุทธรูปที่สร้างจากหิวลาวา และเจดีย์องค์เล็ก

ภายนอกขององค์เจดีย์ยังประกอบไปด้วยพระพุทธรูปแกะสลักจากหินลาวาที่ชาวพุทธในประเทศอินโดนีเชียสร้างถวายจำนวนทั้งหมด 136 องค์

ที่มา : ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กรกฏาคม พ.ศ. 2558

ภายในบริเวณวัดยังมีเจดีย์มหาวีราจริยานุสรณ์กลางน้ำให้กราบไหว้

เจดีย์มหาวีราจริยานุสรณ์ ที่เก็บอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ศรี มหาวิโร


เจดีย์มหาวีราจริยานุสรณ์

ประดับโครมไฟโดยรอบ

ภาพถ่ายหน้าตรงขององค์เจดีย์

มีบันไดพยานาค 4 ทิศ

จิตกาธาน (เมรุชั่วคราว) ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของพระเทพวิสุทธิมิค (หลวงปู่ศรี มหาวิโร) มีรูปทรง 8 เหลี่ยม ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 50 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น มีบันไดเชื่อมต่อแต่ละชั้นๆ ละ 7 ขั้น รูปทรงที่เป็น 8 เหลี่ยมนี้หมายถึง อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งจะนำพาให้ไปสู่ความไกลจากกิเลสทั้งปวง มี 8 ประการ ชั้นทั้ง 3 ชั้น หมายถึง หัวใจของพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ
  1. ละการทำบาปทั้งปวง
  2. ทำความดีทั้งหลายให้ถึงพร้อม
  3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
บันได 7 ขั้น หมายถึง โพชฌงค์ 7 ประการคือ ธรรมแห่งการตรัสรู้ เมืององค์แห่งโพชฌงค์ทั้ง 7 ซึ่งต่างก็เกิ้จกูลซึ่งกันและกัน มีความสมบรูณ์แล้ว ย่อมยังวิชาคือความรู้แจ้ง วิมุติ คือ การหลุดพ้นให้บังเกิดขึ้นเอง

ภาพถ่ายเมื่อมองจากฝั่ง

ทางเดินเข้าสู่เจดีย์มหาวีราจริยานุสรณ์

ทั้งนี้คณะศิษยานุศิษย์ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะเก็บรักษาอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ศรีไว้ที่จิตกาธานแห่งนี้ ไม่แจกจ่ายออกไป โดยสร้างมณฑปครอบไว้เป็นธรรมานุสาวรีย์อันถาวรซึ่งมีความสวยงามมาก

ที่ตั้งวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง)

ตั้งอยู่ ถนนท้องถิ่น รอ. 2115 (บ้านศรีสมเด็จ-บ้านก่อ) ตำบล ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 20 กิโลเมตร

แผนที่ Google Map 15.990633, 103.496371

 

วิดีโอส่งเสริมการท่องเที่ยว เจดีย์หินทราย มหาบุโรพุธโธแห่งเมืองไทย วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) จังหวัดร้อยเอ็ด


ที่พักใกล้กับ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) : กำลังจัดทำข้อมูล